การอ่านตัวเลข

.   การอ่านจำนวนตัวเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป  ถ้าตัวเลขท้ายเป็นเลข ๑ ให้อ่านออกเสียง “เอ็ด” เช่น
                               ๑๑                  อ่าน              สิบ-เอ็ด
     หมายเหตุ เลข ๑ ที่ออกเสียง เอ็ด ในกิจการทหารเรือออกเสียงเป็นหนึ่งเสมอไป เช่น
                               ๑๑                 อ่าน             สิบ-หนึ่ง
.   การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
       ๑)   ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว  เช่น
                               ๑.๑๑                  อ่าน             หนึ่ง-จุด-หนึ่ง-หนึ่ง
       ๒)   ตัวเลขที่เป็นเงินตราหรือหน่วยนับ ให้อ่านหน่วยเงินตราหรือหน่วยนับนั้น ๆ  เช่น
                              ๓.๕๐ บาท          อ่าน           สาม-บาด-ห้า-สิบ-สะ-ตาง
                             ๑๐.๔๒ เมตร       อ่าน           สิบ-เม็ด-สี่-สิบ-สอง-เซ็น-ติ-เม็ด
.   การอ่านตัวเลขบอกเวลา
       ๑)   การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที  เช่น
                             ๐๘.๐๐  น.           อ่าน         แปด-นา-ลิ-กา
       ๒)   การอ่านชั่วโมงกับนาที  เช่น 
                             ๑๑.๒๕  น.          อ่าน        สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-ห้า-นา-ที
.   การอ่านเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านเรียงตัว  เช่น
       หนังสือที่ ศธ ๐๐๓๐.๐๑/๕๙๗  ลว. ๘ พย. ๒๕๕๑
       อ่านว่า  หนัง-สือ-ที่-สอ-ทอ-สูน-สูน-สาม-สูน-จุด-สูน-หนึ่ง-ทับ-ห้า-เก้า-
                     เจ็ด  ลง-วัน-ที่-แปด-พรึด-สะ-จิ-กา-ยน-พุด-ทะ-สัก-กะ-หราด-
                     สอง-พัน-ห้า-ร้อย-ห้า-สิบ-เอ็ด
.   การอ่านบ้านเลขที่  เลขที่บ้านไม่มีทับหรือเลขที่บ้านมีทับที่เป็นเลข ๒ หลัก อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้าเป็นเลข ๓หลักขึ้นไป อ่านแบบจำนวนเต็มหรือแบบเรียงตัวก็ได้ แต่ถ้าขึ้นต้นเลข ๐ อ่านเรียงตัวเสมอ ส่วนเลขหลังทับอ่านเรียงตัว  เช่น
                      บ้านเลขที่ ๕๑๕      อ่านว่า        บ้าน-เลก-ที่-ร้อย-สิบ-ห้า
                                                                          หรือ บ้าน-เลก-ที่-ห้า-หนึ่ง-ห้า
.   การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
      การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ให้อ่านแบบเรียงตัว ยกเว้นเลข ๒ กำหนดให้อ่านว่า โท  เพราะหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วย ๘-๑๐ ตัว บางครั้งอาจมีเลข ๒ และ ๓ ซ้ำกันหลายตัว เสียงอ่านเลข ๒ กับ ๓ มีเสียงใกล้เคียงกันเวลาอ่านอาจทำให้สับสนได้ จึงกำหนดให้อ่านเลข ๒ ว่าโท เพื่อให้เสียงอ่านแตกต่างกันออกไป ส่วนรหัสทางไกลและรหัสประเทศยังคงกำหนดให้อ่านเลข ๒ ว่าสอง เนื่องจากเป็นรหัสที่มีจำนวนตัวเลขน้อย  และเพื่อแยกให้ชัดเจนระหว่างหมายเลขโทรศัพท์กับรหัสทางไกลและรหัสประเทศ  เช่น
       ๐ ๒๕๓๑ ๓๒๓๔      อ่านว่า    หมาย-เลก-โท-ระ-สับ-สูน-สอง-ห้า-สาม-หนึ่ง-สาม-โท-สาม-สี่

ตัวอย่างสื่อการสอน “การอ่านตัวเลข”





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น