การอ่านเครื่องหมายวรรคตอน

          ๑.  เครื่องหมายไปยาลน้อย     ใช้ละบางส่วนของคำ   เช่น  นายกฯ  ใช้ละส่วนท้ายของนามเฉพาะ เช่น แขวงสมเด็จ ฯ 
          ๒.  เครื่องหมายไปยาลใหญ่   ฯลฯ  ใช้สำหรับละข้อความท้ายประโยคที่อยู่ในประเภทเดียวกัน   เช่น  สุดาไปตลาดซื้อผลไม้มาหลายชนิด เช่น   มะม่วง  องุ่น   ชมพู่   ส้ม  ฯลฯ อ่านว่า สุดาไปตลาดซื้อผลไม้มาหลายชนิด เช่น มะม่วง  องุ่น   ชมพู่   ส้ม ละ หรือและอื่น ๆ 
          ๓.  เครื่องหมายไม้ยมก     ใช้ซ้ำคำ  เช่น  เด็ก ๆ  อ่านว่า เด็กเด็ก ใช้ซ้ำวลี   เช่น ในวันหนึ่ง ๆ  อ่านว่า ในวันหนึ่งวันหนึ่ง
          ๔.  เครื่องหมายนขลิขิต   (   )  ใช้กันข้อความที่อธิบายไว้เป็นพิเศษ  เช่น   พระสุนทรโวหาร(ภู่) อ่านว่า  พระสุนทรโวหาร วงเล็บภู่
          ๕.  ………  เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลาหรือจุดไข่ปลาควรหยุดเล็กน้อยก่อน  แล้วจึงอ่านว่า ละ แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป  เช่น ฉันว่าเธอควรจะคิด…..ก่อนที่เธอจะพูดมันออกไป
            ๖.  เครื่องหมายอัญประกาศ    “  ”   ใช้แสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูดหรือความนึกคิด   เช่น   “ฉันไม่น่าจะพูดพล่อย ๆ เลย เธอคงจะเสียใจ
          ๗. เครื่องหมายมหัพภาค  ( . )  เขียนหลังตัวอักษรที่เป็นอักษรย่อ   เช่น ด.ช.  อ่านว่า เด็กชาย    ใช้เขียนแสดงจุดทศนิยม   เช่น  ๑๖.๕๐ บ.    อ่านว่า สิบหกบาทห้าสิบสตางค์
          ๘. เครื่องหมายจุลภาค  ( , ) ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก  ใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน ใช้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กัน ตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการส่วนหน้าคำ"และ"หรือ"หรือ"ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค  ใช้ในการเขียนบรรณานุกรมดรรชนีและนามานุกรม  ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรมเพื่อคั่นความหมายของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง
          ๙.  เครื่องหมายยัติภังค์ (-)   ใช้แยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน   เช่น  จันทร  อ่านว่า จัน - ทอน
          ๑๐. เครื่องหมายปรัศนี ( ? ) ใช้ท้ายประโยคคำถาม  เช่น มีเงินอยู่ ๑๒ บาท ซื้อขนมไป ๕ บาท  จะเหลือเงินอยู่เท่าไร ?
          ๑๑. เครื่องหมายอัศเจรีย์   ( ! )   ใช้เขียนหลังคำอุทาน  เช่น   อุ๊ย ! ฝนตกแล้ว
          ๑๒. เครื่องหมายสัญประกาศ   ____  
ใช้เน้นข้อความที่มีความสำคัญ   เช่น  คนไทยต้องมีระเบียบวินัย
          ๑๓. เครื่องหมายบุพสัญญา ( ” ) ใช้แทนคำหรือข้อความที่อยู่บรรทัดบนเพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก แต่เวลาอ่านต้องอ่านซ้ำคำหรือข้อความข้างบนนั้นด้วย เช่น
                    แม่   ให้เงิน          ๒๐       บาท
                    พ่อ      ”              ๑๕        ” 
                    อ่านว่า แม่ให้เงิน  ๒๐ บาท  พ่อให้เงิน ๑๕  บาท
          ๑๔. เครื่องหมายทับ ( / )    ใช้ขีดหลังจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหม่ ส่วนมากเป็นบ้านเลขที่ และหนังสือราชการ  ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับศักราช ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี  ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ "และ" กับ "หรือ" เป็น "และ/หรือ"หมายความว่า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ แทนคำว่า “หรือ” หมายความว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง  ใช้ขีดคั่นระหว่างคำมีความหมาย “ต่อ” เช่น 
                    ๑/๑๐/๕๐   อ่านว่า  วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ 
                    บ้านเลขที่ ๑๒๓/๓๒๑ อ่านว่า บ้านเลขที่หนึ่ง   สองสามทับสามสองหนึ่ง
          ๑๕. ทวิภาค หรือจุดคู่  ( : ) อ่านออกเสียงว่า “ต่อ” เช่น แผนที่นี้ใช้มาตรส่วน ๑:๑๐๐๐๐   อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่งหมื่น
          ๑๖. เสมอภาค หรือเท่ากับ  ( = )  ใช้เขียนระหว่างคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความทั้ง ๒ ข้างนั้นเสมอกัน  เช่น  พล.ต.อ. =  พลตำรวจเอก ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงว่า พจน์ หรือนิพจน์ ๒ ข้างของเครื่องหมายมีค่าเท่ากัน  เช่น ๕ – ๓ =
          ๑๗. ทัณฑฆาต (   ์ ) ใช้สำหรับฆ่าตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมไว้ คำที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เรียกว่าตัว  “การันต์”  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น