การอ่านตัวเลข

.   การอ่านจำนวนตัวเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป  ถ้าตัวเลขท้ายเป็นเลข ๑ ให้อ่านออกเสียง “เอ็ด” เช่น
                               ๑๑                  อ่าน              สิบ-เอ็ด
     หมายเหตุ เลข ๑ ที่ออกเสียง เอ็ด ในกิจการทหารเรือออกเสียงเป็นหนึ่งเสมอไป เช่น
                               ๑๑                 อ่าน             สิบ-หนึ่ง
.   การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
       ๑)   ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว  เช่น
                               ๑.๑๑                  อ่าน             หนึ่ง-จุด-หนึ่ง-หนึ่ง
       ๒)   ตัวเลขที่เป็นเงินตราหรือหน่วยนับ ให้อ่านหน่วยเงินตราหรือหน่วยนับนั้น ๆ  เช่น
                              ๓.๕๐ บาท          อ่าน           สาม-บาด-ห้า-สิบ-สะ-ตาง
                             ๑๐.๔๒ เมตร       อ่าน           สิบ-เม็ด-สี่-สิบ-สอง-เซ็น-ติ-เม็ด
.   การอ่านตัวเลขบอกเวลา
       ๑)   การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที  เช่น
                             ๐๘.๐๐  น.           อ่าน         แปด-นา-ลิ-กา
       ๒)   การอ่านชั่วโมงกับนาที  เช่น 
                             ๑๑.๒๕  น.          อ่าน        สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-ห้า-นา-ที
.   การอ่านเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านเรียงตัว  เช่น
       หนังสือที่ ศธ ๐๐๓๐.๐๑/๕๙๗  ลว. ๘ พย. ๒๕๕๑
       อ่านว่า  หนัง-สือ-ที่-สอ-ทอ-สูน-สูน-สาม-สูน-จุด-สูน-หนึ่ง-ทับ-ห้า-เก้า-
                     เจ็ด  ลง-วัน-ที่-แปด-พรึด-สะ-จิ-กา-ยน-พุด-ทะ-สัก-กะ-หราด-
                     สอง-พัน-ห้า-ร้อย-ห้า-สิบ-เอ็ด
.   การอ่านบ้านเลขที่  เลขที่บ้านไม่มีทับหรือเลขที่บ้านมีทับที่เป็นเลข ๒ หลัก อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้าเป็นเลข ๓หลักขึ้นไป อ่านแบบจำนวนเต็มหรือแบบเรียงตัวก็ได้ แต่ถ้าขึ้นต้นเลข ๐ อ่านเรียงตัวเสมอ ส่วนเลขหลังทับอ่านเรียงตัว  เช่น
                      บ้านเลขที่ ๕๑๕      อ่านว่า        บ้าน-เลก-ที่-ร้อย-สิบ-ห้า
                                                                          หรือ บ้าน-เลก-ที่-ห้า-หนึ่ง-ห้า
.   การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
      การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ให้อ่านแบบเรียงตัว ยกเว้นเลข ๒ กำหนดให้อ่านว่า โท  เพราะหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วย ๘-๑๐ ตัว บางครั้งอาจมีเลข ๒ และ ๓ ซ้ำกันหลายตัว เสียงอ่านเลข ๒ กับ ๓ มีเสียงใกล้เคียงกันเวลาอ่านอาจทำให้สับสนได้ จึงกำหนดให้อ่านเลข ๒ ว่าโท เพื่อให้เสียงอ่านแตกต่างกันออกไป ส่วนรหัสทางไกลและรหัสประเทศยังคงกำหนดให้อ่านเลข ๒ ว่าสอง เนื่องจากเป็นรหัสที่มีจำนวนตัวเลขน้อย  และเพื่อแยกให้ชัดเจนระหว่างหมายเลขโทรศัพท์กับรหัสทางไกลและรหัสประเทศ  เช่น
       ๐ ๒๕๓๑ ๓๒๓๔      อ่านว่า    หมาย-เลก-โท-ระ-สับ-สูน-สอง-ห้า-สาม-หนึ่ง-สาม-โท-สาม-สี่

ตัวอย่างสื่อการสอน “การอ่านตัวเลข”





แบบฝึก การอ่านตัวเลข

คำชี้แจง จงเขียนคำอ่านของตัวเลขที่กำหนดให้



การอ่านอักษรย่อ

     การอ่านตัวย่อหรืออักษรย่อ ตามหลักภาษาต้องอ่านเต็มตามคำเดิม สำหรับบางคำนิยมอ่านตามตัวย่อ

แบบฝึก การอ่านอักษรย่อ

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

การอ่านเครื่องหมายวรรคตอน

          ๑.  เครื่องหมายไปยาลน้อย     ใช้ละบางส่วนของคำ   เช่น  นายกฯ  ใช้ละส่วนท้ายของนามเฉพาะ เช่น แขวงสมเด็จ ฯ 
          ๒.  เครื่องหมายไปยาลใหญ่   ฯลฯ  ใช้สำหรับละข้อความท้ายประโยคที่อยู่ในประเภทเดียวกัน   เช่น  สุดาไปตลาดซื้อผลไม้มาหลายชนิด เช่น   มะม่วง  องุ่น   ชมพู่   ส้ม  ฯลฯ อ่านว่า สุดาไปตลาดซื้อผลไม้มาหลายชนิด เช่น มะม่วง  องุ่น   ชมพู่   ส้ม ละ หรือและอื่น ๆ 
          ๓.  เครื่องหมายไม้ยมก     ใช้ซ้ำคำ  เช่น  เด็ก ๆ  อ่านว่า เด็กเด็ก ใช้ซ้ำวลี   เช่น ในวันหนึ่ง ๆ  อ่านว่า ในวันหนึ่งวันหนึ่ง
          ๔.  เครื่องหมายนขลิขิต   (   )  ใช้กันข้อความที่อธิบายไว้เป็นพิเศษ  เช่น   พระสุนทรโวหาร(ภู่) อ่านว่า  พระสุนทรโวหาร วงเล็บภู่
          ๕.  ………  เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลาหรือจุดไข่ปลาควรหยุดเล็กน้อยก่อน  แล้วจึงอ่านว่า ละ แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป  เช่น ฉันว่าเธอควรจะคิด…..ก่อนที่เธอจะพูดมันออกไป
            ๖.  เครื่องหมายอัญประกาศ    “  ”   ใช้แสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูดหรือความนึกคิด   เช่น   “ฉันไม่น่าจะพูดพล่อย ๆ เลย เธอคงจะเสียใจ
          ๗. เครื่องหมายมหัพภาค  ( . )  เขียนหลังตัวอักษรที่เป็นอักษรย่อ   เช่น ด.ช.  อ่านว่า เด็กชาย    ใช้เขียนแสดงจุดทศนิยม   เช่น  ๑๖.๕๐ บ.    อ่านว่า สิบหกบาทห้าสิบสตางค์
          ๘. เครื่องหมายจุลภาค  ( , ) ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก  ใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน ใช้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กัน ตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการส่วนหน้าคำ"และ"หรือ"หรือ"ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค  ใช้ในการเขียนบรรณานุกรมดรรชนีและนามานุกรม  ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรมเพื่อคั่นความหมายของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง
          ๙.  เครื่องหมายยัติภังค์ (-)   ใช้แยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน   เช่น  จันทร  อ่านว่า จัน - ทอน
          ๑๐. เครื่องหมายปรัศนี ( ? ) ใช้ท้ายประโยคคำถาม  เช่น มีเงินอยู่ ๑๒ บาท ซื้อขนมไป ๕ บาท  จะเหลือเงินอยู่เท่าไร ?
          ๑๑. เครื่องหมายอัศเจรีย์   ( ! )   ใช้เขียนหลังคำอุทาน  เช่น   อุ๊ย ! ฝนตกแล้ว
          ๑๒. เครื่องหมายสัญประกาศ   ____  
ใช้เน้นข้อความที่มีความสำคัญ   เช่น  คนไทยต้องมีระเบียบวินัย
          ๑๓. เครื่องหมายบุพสัญญา ( ” ) ใช้แทนคำหรือข้อความที่อยู่บรรทัดบนเพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก แต่เวลาอ่านต้องอ่านซ้ำคำหรือข้อความข้างบนนั้นด้วย เช่น
                    แม่   ให้เงิน          ๒๐       บาท
                    พ่อ      ”              ๑๕        ” 
                    อ่านว่า แม่ให้เงิน  ๒๐ บาท  พ่อให้เงิน ๑๕  บาท
          ๑๔. เครื่องหมายทับ ( / )    ใช้ขีดหลังจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหม่ ส่วนมากเป็นบ้านเลขที่ และหนังสือราชการ  ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับศักราช ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี  ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ "และ" กับ "หรือ" เป็น "และ/หรือ"หมายความว่า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ แทนคำว่า “หรือ” หมายความว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง  ใช้ขีดคั่นระหว่างคำมีความหมาย “ต่อ” เช่น 
                    ๑/๑๐/๕๐   อ่านว่า  วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ 
                    บ้านเลขที่ ๑๒๓/๓๒๑ อ่านว่า บ้านเลขที่หนึ่ง   สองสามทับสามสองหนึ่ง
          ๑๕. ทวิภาค หรือจุดคู่  ( : ) อ่านออกเสียงว่า “ต่อ” เช่น แผนที่นี้ใช้มาตรส่วน ๑:๑๐๐๐๐   อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่งหมื่น
          ๑๖. เสมอภาค หรือเท่ากับ  ( = )  ใช้เขียนระหว่างคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความทั้ง ๒ ข้างนั้นเสมอกัน  เช่น  พล.ต.อ. =  พลตำรวจเอก ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงว่า พจน์ หรือนิพจน์ ๒ ข้างของเครื่องหมายมีค่าเท่ากัน  เช่น ๕ – ๓ =
          ๑๗. ทัณฑฆาต (   ์ ) ใช้สำหรับฆ่าตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมไว้ คำที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เรียกว่าตัว  “การันต์”  

แบบฝึกหัด การอ่านเครื่องหมายวรรคตอน


คำชี้แจง  ให้นักเรียนนำเครื่องหมายวรรคตอนด้านล่างไปเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
               ๑.  เด็ก ............. ทุกคนชอบทานไอศกรีม
               ๒.  ฉันอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่  ๕๐ ........... ๑๐๒
               ๓.  ตายจริง ........... ฉันไม่รู้ว่าเธอยืนอยู่ตรงนี้
               ๔.  งอมแงม  หมายถึง  เลิกได้ยาก ........ แก้ไขยาก ......... รักษาได้ยาก
               ๕.  พรุ่งนี้ฉันมีประชุมตอนเช้าเวลา  ๘.๓๐ ........ ๙.๓๐ น.
               ๖.  ทุก ...... วันตอน ๑๖.๐๐ น. ฉันต้องพาสุนัขไปเดินเล่นหน้าบ้าน
               ๗.  ตกลงว่าสัปดาห์หน้าเธอจะไปเที่ยวภูเก็ตกับฉันไม่ .............
               ๘.  คฤหัสถ์  .......คะรึหัด........  หมายถึง ผู้ครองเรือน
               ๙.  ....... ๑๐ = ........  อ่านว่า  ห้าต่อสิบ  เท่ากับ  หนึ่งต่อสอง
              ๑๐.  สุราษฎร์ ........... คำเต็มคือ  สุราษฎร์ธานี